นมผง (Milk Powder)


         
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ milk powder


         นมผง (Milk Powder) คือ เป็นนมอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยการนำน้ำนมไประเหยน้ำออกด้วยกรรมวิธีทำให้แห้ง (Dehydration) นมผงที่ผ่านขั้นตอนการผลิตมาแล้วนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ขึ้นอยู่กับน้ำนมสดที่นำมาผลิตนมผง ดังนี้


1. นมผงธรรดา (Dried / Powder Milk) หรือนมผงพร้อมมันเนย (Dry Whole Milk) คือนมผงที่ผลิตจากน้ำนมธรรมดาที่มีปริมาณไขมันเนยตามธรรมปกติ นำมาผ่านกรรมวิธีการระเหยน้ำออกจนเหลือน้ำประมาณ 3-5%

2. นมผงขาดมันเนย (Dried Skim Milk) หรือนมผงพร่องมันเนย (Non Fat Dried Milk) คือนมผงที่ผลิตจากนมที่ผ่านขั้นตอนการนำไขมันนมออกไป เรียกว่า หางนมนมผงชนิดนี้จะมีปริมาณไขมันน้อยกว่านมผงธรรมดาจึงให้พลังงานต่อร่างกายน้อยเช่นกัน แต่สารอาหารทั้งโปรตีน แคลเซียม และวิตามินนั้นใกล้เคียงกับนมผงธรรมดา

3. นมผงดัดแปลง (Humanized / Modified Milk) คือ นมผงที่มีการรเติมสารอาหาร แร่ธาตุและวิตามินเข้าไปเพื่อให้มีคุณค่าทางอาหารคล้ายกับนมมารดาหรือบางครั้งมีการเพิ่มสารอาหารให้มากกว่าในนมมารดา นมผงชนิดนี้พัฒนามาให้เหมาะสมสำหรับเด็กทารกใช้ดื่มแทนนมมารดาหลังจากที่นมมารดาหมดหรืออายุครบ 1 ปีขึ้นไป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นมผงดัดแปลง
นมผงดัดแปลง


กรรมวิธีการผลิตนมผง
การทำแห้งแบบลูกกลิ้ง
การทำแห้งระบบลูกกลิ้ง (drum drier) เมื่อผ่านน้ำนมเข้มข้นไปบนพื้นผิวร้อนของลูกกลิ้ง เพื่อระเหยเอาน้ำออกจนได้แผ่นนมแห้ง ซึ่งถูกขูดออกจากผิวลูกกลิ้งโดยใบมีด ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะเป็นเกล็ดต้องนำมาบดให้เป็นผงต่อไป การสัมผัสโดยตรงระหว่างน้ำนมเข้มข้นกับลูกกลิ้งร้อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในน้ำนม เช่น การเกิดสีน้ำตาล (browining reaciton) จากปฏิกิริยาคาราเมไลเซชัน (caramelization) ปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard reaction) จากปฏิกิริยาของน้ำตาลแล็กโทส (lactose) และกรดแอมิโนไลซีน (lysine) ทำให้เกิดกลิ่นไหม้ (scorched flavor) และการสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีน (protein denaturation) ทำให้นมผงละลายไม่ดี การใช้ระบบการทำแห้งภายใต้สุญญากาศ การทำแห้งของนมผงที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 91-98 กิโลพาสคาล สามารถลดผลอันเกิดจากออกซิเจนละอุณหภูมิที่สูงเกินไป นมผงจะมีคุณภาพดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบของความดันบรรยากาศ

การทำแห้งระบบฉีดพ่นฝอย
ระบบฉีดพ่นฝอยได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นม นมเข้มข้นจะถูกพ่นเป็นฝอย (atomized) และสัมผัสกับลมร้อนในห้องทำแห้ง ห้องทำแห้งอาจจะเป็นแบบแนวนอนหรือแนวตั้ง แม้ว่าแบบแนวนอนจะเป็นที่นิยมใช้ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ในขณะที่แบบแนวตั้งที่เป็นทรงกรวยตอนล่างจะได้รับความนิยมมากกว่า ลมหรืออากาศจะถูกกรองก่อนทำให้ร้อนด้วยไอน้ำหรือน้ำมันหรือก๊าซ ซึ่งทำให้มีอุณหภูมิระหว่าง 150-300 องศาเซลเซียส ปล่อยลมร้อนไปสู่ห้องทำแห้งด้วยความเร็ว 50 เมตรต่อวินาที ลมร้อนอาจไหลในทิศทางเดียวกับทิศทางของน้ำนม (concurrent flow) หรือไหลสวนทิศทางกัน (countrecurrent flow) หรือมีทิศทางทำมุมซึ่งกัน (mixed flow)









           ที่มารูปภาพ
🎨 https://www.livestrong.com/article/387006-skim-milk-powder-vs-whey/.
🎨 http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING/2013/07/03/entry-4.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น